ประธาน: ประเทศอินโดนีเซีย เราทราบว่า อินโดนีเซียขับไล่ชาวจีน

ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่: เมื่อก่อนถูกต้อง!
 

การบรรยายธรรมที่มาเลเซีย พ.ศ.2536

ประธาน: ดังนั้นในปี 2535 ท่านได้เทศนาที่นั่น และพวกเขาก็อนุญาตให้ท่านเข้าไป ซึ่งทุกท่านสามารถอ่านได้จากข้อมูลข่าวสารข้างในหน้าที่ 21 มีนาคม 2535 ตอนนั้นรัฐบาลอินโดนีเซียอนุญาตให้ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่ไปเทศนาที่ประเทศอินโดนีเซีย และดำเนินการโดยวิธีปุจฉาวิสัชนาในการเทศนา ซึ่งเรื่องราวที่เกิดขึ้นในตอนนั้นท่านสามารถแนะนำอธิบายให้เราทราบได้ไหม? ในปี 2535 เป็นช่วงเวลาที่ขับไล่ชาวจีน และภาษาความรู้ของจีนไม่สามารถถูกนำเข้าอินโดนีเซีย

ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่: ใช่ ๆ

ประธาน: ซึ่งในตอนนั้นกระผมเองก็ได้ไปที่ประเทศอินโดนีเซีย ความรู้วิชาที่เป็นหนังสือภาษาจีนไม่สามารถนำเข้าไปได้ แล้วท่านเทศนาได้อย่างไร? เชิญครับ!

 

ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่: ฉันปราศรัยเป็นภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ขอบคุณที่เตือนฉัน ฉันลืมเรื่องที่ท่านได้เอ่ยถึงเมื่อกี้นี้ไปแล้วโดยสิ้นเชิง มันรู้สึกเหมือนเรื่องที่ผ่านพ้นมายาวนานแล้ว (ท่านอาจารย์หัวเราะ)

ประธาน: ถูกต้อง เราซึ่งเป็นนักวิจัยประวัติศาสตร์ยุคสมัยปัจจุบันชอบฟังการเล่านิทานมาก ดังนั้นขอเชิญครับ!
ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่: ก็ได้ แต่มันผ่านมานานเกินไปแล้ว เวลาฉันบรรยายธรรมครั้งหนึ่งจบ ฉันก็จะลืมมันเสีย ลองถามฉันสิ ว่าเมื่อวานฉันพูดอะไรไป ฉันจะจำไม่ได้สักอย่างหนึ่ง ไหนลองให้ฉันคิดดูซิ ฉันอาจจะรำลึกอะไรได้บางอย่าง
ประธาน: ขอให้ทุกท่านรับฟังการอธิบายที่มาจากท่านอนุตราจารย์ชิงไห่โดยตรง

ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่: ชาวจีนที่ไปอาศัยอยู่ในอินโดนีเซียสมัยนั้นอยู่ในสภาพเดือดร้อน ฉันร้องไห้เมื่อได้ยินเรื่องน่าเศร้าของพวกเขา อย่างไรก็ตาม ทำดีก็ได้ดี เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งที่ถูกจัดแจงก็จะเปิดเผยออกมา เธอจะเห็นได้ว่า ชาวจีนที่นั่นอยู่สบายขึ้นมากทุกวันนี้ พระเจ้าก็จัดแจงอะไรของพระองค์อยู่ เมื่อผู้คนเข้าใจเราผิดหรือทำร้ายเรา เราควรจะเรียนรู้จากตัวอย่างชาวจีนซึ่งอดทนและยินยอมต่อการถูกกระทำอย่างอัปยศอดสู แล้วเราจะตระหนักว่า พระเจ้าดูแลเราอย่างดี ไม่เร็วก็ช้าพระองค์จะแก้ไขให้กับเรา ในสมัยก่อนนั้น ชาวจีนไม่ได้รับอนุญาตให้เรียนภาษาจีน พวกเขากระทั่งไม่ได้รับให้พูดภาษาแม่ของเขาในที่สาธารณชน พวกเขาจะต้องพูดภาษาอังกฤษหรือภาษาอินโดนีเซีย

อย่างไรก็ตาม พวกเขาสามารถพูดภาษาจีนได้ที่บ้าน ครั้งหนึ่ง เมื่อผู้บำเพ็ญซึ่งมีฐานะดีคนหนึ่งของเราเชื้อเชิญฉันไปที่บ้านของเขา พวกเราทุกคนต่างก็เบียดเข้าไปอยู่ในบ้านของเขา บ้านนั้นใหญ่โตและมีหลายห้อง เราอยู่ในห้องหนึ่งซึ่งใหญ่เท่าห้องนี้ ที่นั่นเราพูดภาษาจีนได้ แต่เวลาปราศรัยในที่สาธารณชน ฉันจะพูดเป็นภาษาอังกฤษ ฉันไม่สามารถฝืนกฎเกณฑ์ได้ เนื่องด้วยฉันได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศอินโดนีเซีย ฉันก็ต้องให้ความร่วมมือ และทุกอย่างก็ดำเนินไปอย่างเรียบร้อย

ประธาน: ครับ ต่อไปจะขอคำชี้แนะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ทุกท่านสามารถอ่านได้จากข้อมูลหน้าที่ 21 ในปี 2537 ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ณ พระราชวัง ไม่ทราบว่าสภาพการณ์ตอนนั้นเป็นอย่างไร?

ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่: นั่นคือหลังจากการปราศรัยจบลง ทางราชวงศ์ทราบเรื่องนี้และได้ติดต่อกับเพื่อนบำเพ็ญของเราในเรื่องนี้ ฉันไม่ทราบเรื่องราวเบื้องหลังมากนัก ฉันมาเนื่องด้วยได้รับคำเชิญจากพระองค์ท่าน ในกรณีส่วนใหญ่ เพื่อนบำเพ็ญจะจัดแจงสิ่งต่าง ๆ ให้กับฉัน เมื่อท่านแจ้งให้ฉันทราบเกี่ยวกับหนังสือเชิญซึ่งท่านรับในนามของฉัน ฉันก็จะตอบรับเมื่อเวลาเหมาะสม ดูเหมือนว่า ณ เวลานั้นประเทศไทยเพิ่งประสบความวุ่นวายปั่นป่วนอะไรบางอย่าง แล้วเราได้บริจาคของช่วยเหลือบรรเทาบางอย่าง

 

 

 

 

 

แสดงธรรมที่ประเทศไทย พ.ศ.2536

ประธาน: ผ้าห่มและเสื้อไหมพรม

ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่: ถูกแล้ว เราทำเช่นนั้นในหลาย ๆ กรณี ไม่เพียงเฉพาะในครั้งนั้น บางครั้งทางราชวงศ์หลวงได้รับทราบเกี่ยวกับการบริจาคของเราและประสงค์จะพบเรา มันเป็นเกียรติกับพวกเราอย่างยิ่ง เราได้ทูลเกล้าถวายของขวัญบางประการให้กับเจ้าฟ้าหญิง แต่เมื่อพวกเขาจัดแจงให้มีการเยี่ยมเยียนครั้งที่ 2 ฉันก็ต้องกล่าว “ขอโทษ” เพราะไม่มีเวลา ฉันยุ่งอยู่กับเรื่องอื่น ๆ สมาชิกของราชวงศ์หลวงของไทยอ่อนน้อมถ่อมตนมากและเป็นกันเอง เจ้าฟ้าหญิงบริสุทธิ์มาก ท่านจะต้องชอบพระองค์ท่านอย่างแน่นอนเมื่อได้พบพระองค์ท่าน พระองค์ท่านไม่ปฏิบัติตนแบบเสแสร้ง จะทำอะไรที่จำเป็นต้องทำและไม่แต่งหน้า ประชาชนรักพระองค์ด้วยใจจริง และฉันก็เช่นกัน แต่ในภายหลังฉันไม่มีเวลา

ประธาน: ขอให้ทุกท่านอ่านหน้าที่ 22 ในปี 2542 ได้จัดกิจกรรมขึ้นที่ประเทศไทย

ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่: นี่เป็นของประเทศไทย เรามีกิจกรรมมากมายที่นั่น
 

 
 

 

 

 

 

ประธาน: ส่วนที่เป็นของประเทศไทยมีมาก จากหลักฐานทางนี้ท่านเคยได้จัดกิจกรรมอาหารมังสวิรัติระดับสากลในเชียงใหม่ที่ประเทศไทยครั้งหนึ่ง ท่านมีศูนย์ปฏิบัติธรรมกี่แห่งในประเทศไทย ขอให้ท่านช่วยแนะนำด้วย

ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่: คือ เรามีหลายศูนย์ เชียงใหม่มีศูนย์ปฏิบัติธรรม

ประธาน: ที่เชียงราย เชียงใหม่ กรุงเทพ หรือที่อื่น ๆ มีบ้างไหม?

ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่: ใช่ ๆ เรามีศูนย์ที่หาดใหญ่ ขอนแก่น และกรุงเทพ แต่ฉันจำชื่อไม่ค่อยได้ เพื่อนบำเพ็ญของเราจะจำได้ดีกว่าฉัน ทุกวันนี้ฉันได้แต่เดินทางไปญี่ปุ่นหรือไปไต้หวัน บางครั้งฉันก็ยุ่งมาก ต้องเก็บกระเป๋าของฉันเอง การเดินทางตัวคนเดียว บางทีก็เหนื่อยมาก แต่หากฉันเดินทางกับคนกลุ่มมาก ฉันจะดึงดูดความสนใจมากเกินไป ฉันพอใจจะเดินทางอย่างเงียบ ๆ แต่ฉันก็มีธุระที่จะต้องจัดแจงมากมายเหลือเกิน จนบางครั้งฉันกลายเป็นขี้หลงขี้ลืม

 

ในปี 2536 เมื่อได้ทราบว่าทางภาคเหนือของประเทศไทยอากาศหนาวเย็นมาก ในแต่ละปีจะมีผู้คนเสียชีวิต ท่านอาจารย์จึงได้นำสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นในแต่ละวันแจกจ่ายให้กับประชาชนในแถบนั้น
   

อย่างไรก็ตาม ฉันทราบว่าเรามีศูนย์ที่ขอนแก่น หาดใหญ่ เชียงใหม่ และกรุงเทพ ศูนย์อื่น ๆ ฉันจำไม่ได้ เรามีเพื่อนบำเพ็ญกลุ่มใหญ่ในประเทศไทย บางคนพูดภาษาไทย บางคนก็พูดภาษาจีน การแปลก็ไม่เลว แรกเริ่มที่ฉันไปประเทศไทย ชาวจีนบางคนพูดภาษาของตนเองไม่ได้ แต่พวกเขาก็เรียนรู้หลังจากที่ฟังจากเทปวีดิทัศน์ของฉัน ฉันยังตลกเล่นกับพวกเขาว่าจะเก็บค่าเรียน! คนที่นั่นดีมากและใจบุญ พวกเขาให้ความเคารพกับผู้บำเพ็ญทางจิตวิญญาณสูงยิ่ง ครั้นพวกเขาทราบว่า ท่านเป็นผู้บำเพ็ญทางจิตวิญญาณ พวกเขาจะคุกเข่าลงหน้าท่านและมอบดอกไม้ให้กับท่าน พวกเขาเป็นคนที่อ่อนน้อมถ่อมตนยิ่งนัก

 
 

ท่านอาจารย์ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ในประเทศฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2537

 

ประธาน: ครับ เราจะไปดูที่ประเทศสิงคโปร์ต่อ ในปี 2534 ก็ได้จัดกิจกรรมที่ประเทศสิงคโปร์ รู้สึกว่าในตอนนั้นที่สิงคโปร์ยังมีผู้ลี้ภัยชาวเอาหลักอยู่บ้าง

ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่: มีอยู่สัก 2-3 ร้อยคน

ประธาน: อยากทราบว่าเหตุการณ์ในตอนนั้นเป็นอย่างไรบ้างครับ? รู้สึกจะเป็นเดือนเมษายน 2534 ใช่ไหมครับ?

ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่: ฉันไปเยี่ยมเยียนผู้ลี้ภัยและหาซื้ออะไรบางอย่างให้พวกเขาขณะที่ฉันอยู่ที่นั่น แต่จุดประสงค์หลักของการเยี่ยมเยียนคือเพื่อบรรยายธรรม มีผู้คนไปเป็นจำนวนมาก และสถานที่บรรยายธรรมอัดแน่นจนไม่มีที่ให้เดิน คนเป็นจำนวนมากนั่งอยู่ตามทางเดินหรือขั้นกระได เมื่อวานนี้ก็เป็นเช่นเดียวกัน กระทั่งยังมีคนมากกว่านั้นอีกและผู้คนอัดแน่นจริง ๆ (ท่านอาจารย์อ้างถึงการบรรยายธรรม ณ สนามกีฬาประจำเมืองเถาเยวียน ฟอร์โมซาในวันที่ 5 พฤษภาคม)


สิ่งต่าง ๆ ในประเทศสิงคโปร์ดำเนินไปอย่างค่อนข้างราบรื่น รัฐบาลสิงคโปร์มีจิตใจที่เปิดกว้างเป็นอย่างยิ่ง และคนในประเทศก็ก้าวหน้าทางจิตวิญญาณและยอมรับเราในทันที ประเทศของเขาสะอาดมาก และผู้คนอยู่ในกฎระเบียบ หากเธอบ้วนหมากฝรั่งบนถนน เธอจะถูกปรับเป็นเงิน 500 ดอลลาร์สหรัฐ คนที่นั่นสามารถคงระดับการบำเพ็ญทางจิตวิญญาณได้อย่างสม่ำเสมอ ครั้นพวกเขาเริ่มต้น ก็จะดำเนินต่อไป เพียงบอกพวกเขา พวกเขาก็จะเข้าใจในทันที ชาวสิงคโปร์พัฒนาปัญญาได้อย่างดียิ่ง และฉันก็รู้สึกเบาใจในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง

ประธาน: วิธีการที่สำคัญที่สุดคือทำให้พวกเขาเข้าใจคืออะไร? จุดที่สำคัญคืออะไร?

ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่: ฉันเพียงแต่พูดจากับพวกเขาอย่างสบาย ๆ เป็นกันเอง (เสียงหัวเราะ)

ประธาน: ถ้าหากกระผมจะกล่าวไปเรื่อย ๆ ก็คงจะไม่ได้

ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่: พวกเขาค่อนข้างเฉลียวฉลาด! (เสียงหัวเราะ)

ประธาน: ครับ เราจะขอสอบถามเกี่ยวกับประเทศฟิลิปปินส์บ้าง เดือนเมษายน 2534 ท่านเคยได้ไปช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวเอาหลัก เหตุใดท่านจึงเปลี่ยนชื่อเวียตนามเป็นเอาหลัก นี่เป็นคำถามที่ 1 ส่วนคำถามที่ 2 ที่ฟิลิปปินส์ พวกเขาเคยมอบรางวัลกุญแจเมืองแด่ท่าน โดยให้ท่านเป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์แห่งกรุงมนิลา เหตุใดจึงทำเช่นนี้?

ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่: ฉันก็ไม่ทราบ พวกเขาทำเช่นนั้นในทันทีที่ฉันมาถึง เพราะมีใครบางคนบอกพวกเขาว่าฉันเป็นใครและมาที่นี่ด้วยจุดประสงค์ใด ผู้ว่าประจำมนิลาเชื้อเชิญพวกเราและมอบกุญแจให้กับเรา ฉันคิดว่า กุญแจนั้นสวยงามและก็เก็บไว้เป็นที่ระลึก แต่มันไม่สามารถเปิดประตูใดๆ ได้ (เสียงหัวเราะ) ฉันรู้สึกดียิ่งนักที่ได้รับกุญแจเป็นครั้งแรกในชีวิตของฉัน สมัยนั้นฉันไม่มีบ้าน ฉันอาศัยอยู่ในเต็นท์ กระนั้นฉันก็มีกุญแจ ฉันห่อเก็บไว้อย่างดีในกระเป๋า ภายหลังฉันก็เลิกเห่อ เพราะได้รับกุญแจอีกมากมาย ฉันนำมาวางไว้ข้าง ๆ กัน เพียงเพื่อเอาไว้ดู ฉันได้รับกุญแจอีกหลายอันในสหรัฐอเมริกา ฉันให้ท่านดอกหนึ่งได้ ถ้าท่านต้องการ

ประธาน: นี่ต้องประธานาธิบดีท้องที่ส่งให้ฉันถึงนับ ท่านส่ง…ก็ได้

ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่: เรานำมาแบ่งกันก็ได้

ประธาน: ดี ๆ ถ้าเช่นนั้นบัดนี้เราดูต่ออีก เชิญคุยมากหน่อย ท่านมาจากเอาหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราเติมลงไปก็ต้องแนะนำส่วนของเอาหลัก เชิญ!

ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่: ในสมัยนั้นฉันกำลังเจรจากับรัฐบาลฟิลิปปินส์ในเรื่องของผู้ลี้ภัยเพื่อขอความช่วยเหลือและให้ที่ลี้ภัย สุดท้ายเขาอนุญาตให้ผู้ลี้ภัยจำนวน 5,000 คนซึ่งยังคงอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ อยู่ต่อได้ คนพื้นเมืองมีจิตเมตตาและใจดีมาก ถึงแม้ว่าประเทศของเขาจะยากจน ดังนั้นฉันจึงไปเยี่ยมเยียนพวกเขา 2-3 วันต่อมาเพื่อแสดงความขอบคุณของเรา

“เอาหลัก” เป็นคำเรียกสมัยโบราณสำหรับประเทศเวียตนาม ซึ่งมีความหมายว่า “ความสุข” ฉันใช้ชื่อนี้ เพราะรู้สึกว่า มันจะนำโชคดีมาสู่ประชาชน ฉันชอบชื่อที่ฟังดูดี ด้วยที่เป็นนักออกแบบฉันจึงชอบของสวยงามรวมถึงชื่อที่งดงาม นั่นคือสาเหตุที่ฉันเลือกใช้ชื่อว่า “ฟอร์โมซา” แทนคำว่า “ไต้หวัน” ท่านจะเห็นได้ว่าเราใช้ชื่อนี้ในเอกสาร ข้อมูลที่อยู่ในมือท่าน เราเรียกเกาะนี้ว่า"ฟอร์โมซา" ไม่ใช่ "ไต้หวัน" ถึงแม้ว่าบางครั้งเราก็ลืมไป
 

     

  ในปี 2535 ท่านอาจารย์เข้าพบกับนางคอราซอน อาควิโน ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เกี่ยวกับผู้ลี้ภัยชาวเอาหลัก

  ในปี 2535 ท่านอาจารย์พบกับนางอีเมลด้า มาร์กอส แห่งฟิลิปปินส์
 
หน้า 1 2 3 4